fbpx

หวังว่าจะสนุกกับบทความหรือ Podcast ตอนนี้นะครับ ถ้าชอบฟังหนังสือเสียงที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา และพลังงาน คลิกที่นี่ เพื่อ Download แอป OHMPIANG ได้เลยครับ


เทคนิคการเขียน Bio บน Clubhouse ให้น่าติดตาม ทำเงินได้ และดูมีของ

  • Home
  • /
  • Podcast
  • /
  • Copywriting
  • /
  • เทคนิคการเขียน Bio บน Clubhouse ให้น่าติดตาม ทำเงินได้ และดูมีของ
เทคนิคการเขียน Bio Clubhouse

บทความนี้ผมจะมาพูดถึงส่วนที่ทรงพลังที่สุดส่วนหนึ่งใน Social Media ที่กำลังเป็นกระแสอยู่อย่าง Clubhouse นั่นคือ Bio และการเขียน Bio

และถึงผมจะบอกว่ามันเป็นส่วนที่ทรงพลังที่สุด แต่เชื่อไหมครับว่า 90% ของผู้ใช้งานไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Bio ของ Clubhouse มากเท่าที่ควร (รวมไปถึง Bio ของ Instagram และ Twitter ด้วย) หรือยังใช้งานส่วนนี้ได้ไม่ถึงเสี้ยวหนึ่งของสิ่งที่มันทำได้

ตัวผมเองเข้าไปสิงอยู่ใน Clubhouse มาได้สักพัก และรู้สึกว่ามันเป็น Social Media ที่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบเอาหน้าออกสื่อเอามากๆเลย ส่วนตัวผมคิดว่าสนุก ดี มีประโยชน์ เสียงชัด แต่ต้องเล่นแบบมีสติและมี Limit เอามากๆ

อันนี้เป็นรีวิวที่ผมเขียนเอาไว้ในหน้า Facebook ส่วนตัวครับ >> รีวิว Clubhouse หลังผ่านวันแรก

ใครยังไม่ได้ติดตามกันบน Clubhouse กดติดตามได้เลยนะครับ ลองพิมพ์หา Jesse Theerathorn หรือ @ohmpiang ก็ได้ ผมจะเป็น Moderator ประจำอยู่ในห้อง Copywriting FM ร่วมกับพี่มารุต Copywriter สายตรงจาก David Ogilvy และน้องหย่าง เขียนอย่างหย่าง ที่จะเปิดห้องกันอาทิตย์ละ 1 ครั้งๆ ละไม่เกิน 1 ชั่วโมง แล้วก็เป็น Guest อยู่ตามห้องต่างๆ

เกริ่นมานานแล้ว เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า

การเขียน Bio นั้นสำคัญไฉน?

แม้บทความนี้ผมจะโฟกัสที่การเขียน Bio บน Clubhouse แต่สิ่งที่ผมจะแบ่งปันสามารถใช้ได้ทั้ง Clubhouse, Instagram และ Twitter นะครับ เพราะงั้นท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามสะดวกเลย

เพื่อให้ท่านเข้าใจความสำคัญของการเขียน Bio ผมมีกรณีศึกษาสมมติที่จำลองมาจากสถานการณ์จริงมาให้นึกภาพตาม

กรณีแรก ถ้าท่านเป็นเจ้าของห้องหรือ Moderator แล้วท่านบังเอิญท่านตั้งชื่อห้องได้โดนใจ หรือมี Influencer เข้ามาแจม แล้วจู่ๆคนก็แห่กันเข้ามาฟังห้องที่ท่านตั้งขึ้นหลักพันคน

ท่านอยากให้คนที่เข้ามาฟังคลิก Bio ของท่านแล้วอุทานว่า ว้าว! หรือนิ่งแล้วกดออกเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น?

กรณีที่สอง ถ้าท่านเป็นผู้ฟังในห้องที่มีคนเข้าฟังนับพัน แล้วท่านยกมือขึ้นถามคำถามที่ดีมากๆ ดีจนคนในห้องกดเข้าไปดู Bio เพื่อทำความรู้จักท่านมากขึ้นและอยากที่จะอุดหนุนอะไรก็ตามที่ท่านเสนอขาย

ท่านอยากให้คนที่คลิกเข้ามาดู Bio ของท่านเจอ Bio ประเภท

เจ้านายตัวเอง / บริษัทพ่อและแม่ จำกัด / รับจ้างไปวันๆ

หรือ Bio ที่จะเป็นป้ายบอกทางให้คนอ่านรู้จักและตัดสินใจลงมือทำในสิ่งที่ท่านต้องการ?

ถ้าท่านต้องการ Bio Clubhouse ที่ว้าว และสามารถบอกทางให้คนอ่านรู้จักท่านมากขึ้นและตัดสินใจลงมือทำในสิ่งที่ท่านต้องการ เทคนิคง่ายๆที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้คือ ทุกอย่างที่ท่านต้องการครับ

เขียน Bio Clubhouse อย่างไรให้ได้เงินแสน ++

ต่อไปนี้คือการใช้วิชา Copywriting กับ Bio Clubhouse ฉบับที่ผมทดสอบด้วยตัวเองแล้วว่าสามารถสร้างผลลัพธ์ได้ในระดับที่น่าพอใจ

ข้อดีมากๆอย่างหนึ่งเลยบน Clubhouse คือ สามารถเขียน Bio ได้โดยไม่จำกัดตัวอักษร แตกต่างจาก Instagram และ Twitter แต่ผมก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้พัฒนาแอพจะจำกัดตัวอักษรเมื่อไหร่ หรือจะมีวันนั้นไหม ดังนั้นตอนนี้จัดเต็มได้ ก็จัดเต็มเลยครับ

ผมแบ่งองค์ประกอบของ Bio บน Clubhouse ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

ส่วนแรกคือส่วน WHAT?

ส่วนที่สองคือส่วน WHO?

ส่วนที่สามคือส่วน Call to Action

สารภาพเลยครับว่า วันแรกๆที่เข้าไปแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ผมพลาดโอกาสดีๆไปเยอะมาก เพราะ Bio ของผมหน้าตาเป็นแบบนี้ แล้วก็บังเอิญโดนลากขึ้นไปเป็น Guest ในห้องระดับพันคน…

Jesse Theerathorn

มันไม่ดีตรงไหนใช่ไหม?

อย่างแรกเลยครับ อ่านยาก ไม่มีเว้นบรรทัด ไม่มีการจัดรูปแบบใดๆ นึกอะไรออกก็เขียนๆส่งไป ซึ่งมันไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับตัวผมเองและคนอ่าน

ผลลัพธ์ของการมี Bio แบบนี้น่ะหรอ?

ในรูปนั่นคือจำนวน Followers หลังโดนลากขึ้นไปพูดแล้วด้วยนะ (9 คนเห็นแล้วหัวเราะเยาะตัวเอง) ดังนั้นอย่าแปลกใจถ้าตัวท่านเป็น Moderator หรือเป็น Guest แล้วมั่นใจว่าเราก็ทำดีนี่หว่า แต่ยอด Followers ไม่เพิ่ม หรือเพิ่มช้า

อ้อ ลืมบอกไปว่า สิ่งที่ผมพูดในบทความนี้สำหรับคนตัวเล็กๆที่ไม่มีคนรู้จักหรือคนติดตามเยอะๆ เป็นหลักนะครับ คนที่มีคนติดตามเยอะอยู่แล้วบางคนอย่าง Elon Musk นี่ ไม่มี Bio เลยแต่มีคนติดตาม 1.8 ล้านคน

3 บรรทัดแรกที่ต้องโฟกัสในการเขียน

เช่นเดียวกับการเขียน Content หรือ Copywriting สิ่งแรกที่ต้องโฟกัสคือ Headline หรือ หัวข้อ ทีนี้ผมเคยอ่านบทความในเวบไซต์ต่างประเทศบอกว่า Bio Clubhouse สำคัญที่สุดคือ 3 บรรทัดแรก และ 3 บรรทัดแรกต้องมี Keyword สำคัญที่ต้องการให้คนอ่านรู้และระบบรู้

ผมลองทดสอบดูแล้วว่า มันไม่เชิงต้อง 3 บรรทัดเป๊ะ แต่หยวนๆได้ที่ 3-5 บรรทัด หรือในกล่องที่เขาเตรียมไว้ให้

ท่านสามารถเข้าไปแก้กล่องนี้กี่ครั้งก็ได้ ในหน้า Profile ของตัวเอง และจริงอยู่ที่สามารถเขียนได้ไม่มีจำกัดตัวอักษร แต่นับไปประมาณ​ 3-5 บรรทัดแรกคือบริเวณที่ต้องโฟกัส

ถ้าตามภาพคือ ประโยคที่บอกว่า

MODERATOR @ COPYWRITING FM

COPYWRITER | นักเขียน | นักแปลพ่อลูกอ่อนแห่ง OHMPIANG.COM

ส่วนนี้เองคือ ส่วนที่ท่านต้องตอบถามว่า WHAT? หรือ

WHAT DO YOU WANT PEOPLE TO KNOW?
(อะไรที่ท่านอยากให้คนฟังอยากรู้เกี่ยวกับตัวท่าน?)

อาจจะเป็นสิ่งที่ท่านต้องการจะโปรโมท ณ เวลานั้น หรือชื่อธุรกิจของท่าน หรือตำแหน่งงานของท่าน หรืออะไรก็ได้ที่ท่านคิดว่าคนฟังอ่านแล้วจะเข้าใจเกี่ยวกับตัวท่านในไม่กี่ประโยค

ผมเองต้องการโปรโมทห้อง Copywriting FM ใน Clubhouse และต้องการให้คนรู้ว่าผมเป็น Copywriter, นักเขียน และนักแปลหนังสือที่หลงลูกพอสมควร ดังนั้นผมเลยใส่ไปว่า

MODERATOR @ COPYWRITING FM

COPYWRITER | นักเขียน | นักแปลพ่อลูกอ่อนแห่ง OHMPIANG.COM

ส่วนที่สองที่ต้องโฟกัสคือ WHO?

ส่วนนี้ตอบคำถามสำคัญว่า ท่านคือใคร? ทำอะไรมา? ทำธุรกิจอะไรอยู่? และมีผลงานอะไร?

ส่วนนี้คือส่วนที่อยู่ต่อจาก WHAT? 3-5 บรรทัดแรกของ Bio

ช่วงนี้ ผมอยากจะแนะนำตัวว่าเป็น เจ้าของผลงานแปลหนังสือคลาสสิคระดับตำนาน เพราะตอนนี้ไม่ได้เน้นงานที่ปรึกษา ไม่ได้เน้นงานสอน ไม่ได้รับเขียน Copywriting

ดังนั้น Bio ของผมเลยจะมีรายละเอียด Section นี้แบบนี้

เจ้าของผลงานแปลหนังสือคลาสสิคระดับตำนาน

และล่าสุด The Power of Your Subconscious Mind

หน้าตาใน Clubhouse จะออกมาประมาณนี้

ส่วนสุดท้าย CTA (Call To Action) จะหมู่หรือจ่า ก็ Section นี้

ในวิชา Copywriting สิ่งหนึ่งที่เน้นย้ำกันตลอดเวลา และเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างระหว่าง Content หรือแอดโฆษณาทั่วไป กับ Content หรือแอดโฆษณาสร้างผลลัพธ์นอกเหนือจาก Headline หรือหัวข้อ คือ สิ่งที่เรียกว่า Call To Action

Call To Action คือ ข้อความกระตุ้นเล็กๆให้คนอ่านหรือกลุ่มเป้าหมาย ลงมือทำในสิ่งที่ต้องการหรือ Next Step

ผมบอกได้เลยว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมา การมี Call to action ที่เป็น Next Step ให้ลูกค้าหรือผู้ติดตาม กับการไม่มี Call to action ผลลัพธ์มันต่างกันราวฟ้ากับเหว

หน้าตาส่วน CTA ของผมใน Clubhouse จะประมาณนี้

Call to action ของท่านอาจเป็น เพิ่มเพื่อน, แอดไลน์, โทรมาสอบถาม หรือเข้าเวบไซต์ ซึ่งอันนี้ท่านเลือกได้เลย สำคัญแค่ว่าต้องมีครับ

แล้ว Twitter กับ Instagram ที่ Clubhouse มีช่องให้ใส่ในนั้นสำคัญไหม?

ผมว่าสำคัญนะ ถ้าใครมีและ Active ก็ควรใส่ครับ ผมเองก็มีแต่ไม่ Active และไม่ใช่จุดโฟกัส ผมเลยไม่ได้ใส่

สรุปส่งท้าย วิชาเขียน Bio บน Clubhouse

การมี Bio ที่ดูดี ดูมืออาชีพ ดูมีของ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะท่านไม่รู้หรอกว่าใครเข้ามาส่อง Bio ของท่าน และจะเข้ามาส่องตอนไหน

ผมเองยอดผู้ติดตามบน Clubhouse มีเพียง 1,700 คนเท่านั้น ถือว่าน้อยนิดมากถ้าเทียบกับ Influencer คนอื่นๆที่พูดเรื่องเดียวกัน แต่ด้วยการที่มี Bio ที่ชัดเจน ครบถ้วน และสร้างผลลัพธ์ได้ ทำให้ธุรกิจของผมได้รับอานิสงค์จากการเข้าไปสิงอยู่ใน Clubhouse ของผม ซึ่งเฉลี่ยประมาณวันละ 1 – 2 ชั่วโมง

ทุกๆวันจะมีคนติดต่อเข้ามาสั่งซื้อหนังสือ เพิ่มเพื่อน และ Subscribe เข้าอีเมล เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ

ก่อนจะจากกันอย่าลืมโฟกัส 3 ส่วนหลักๆนะครับ

WHAT | WHO | CALL TO ACTION

ตอนนี้ Bio Clubhouse ของผมหน้าตาแบบนี้

ถ้าคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อนหรือคนใกล้ตัวนะครับ และถ้าท่าน Active อยู่ใน Clubhouse อย่าลืมกดติดตามผมได้ที่ Jesse Theerathorn หรือ @ohmpiang ได้เลยครับ

แล้วพบกันใหม่บทความหน้า ขอให้วันนี้เป็นวันที่ราบรื่นครับ

OHMPIANG
ธีระธรณ์


แชร์ให้คนที่คุณรัก:


{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}
>