fbpx

หวังว่าจะสนุกกับบทความหรือ Podcast ตอนนี้นะครับ ถ้าชอบฟังหนังสือเสียงที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา และพลังงาน คลิกที่นี่ เพื่อ Download แอป OHMPIANG ได้เลยครับ


7 สิ่งควรระวังตอนเริ่มต้นธุรกิจ

  • Home
  • /
  • Podcast
  • /
  • Entrepreneur
  • /
  • 7 สิ่งควรระวังตอนเริ่มต้นธุรกิจ
ส่วนบทความนี้มันเกิดขึ้นระหว่างที่นั่งเรียบเรียง นั่งสรุปสิ่งที่ผมได้รับตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ผมพบว่า “ผมทำพลาดบ่อยมากๆ เรียกว่าบ่อยจนไม่น่าเชื่อว่ามันจะทำเงินได้…”
แต่เพราะผมผิดพลาดบ่อยเนี่ยแหละ เวลาผมไปคุยกับลูกค้า ไป Coach ใครก็ตาม ผมเลยได้เปรียบมากๆ 🙂
วันนี้ผมจะมาแบ่งปันข้อผิดพลาดทั้ง 7 ที่ใครก็ตามที่อยากทำธุรกิจส่วนตัว, Startup หรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก (Small Business) ควรหลีกเลี่ยง
ซึ่งข้อผิดพลาดเหล่านี้ตัวผมเอง และลูกค้าของผมกว่า 90% เจ็บตัวมาแล้วทั้งนั้นครับ

1. มองข้ามการทำแผนธุรกิจ

เจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกคนล้วนเห็นด้วยว่า “แผนธุรกิจที่มีน้ำหนัก” คือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับความสำเร็จในอนาคต

เพราะแผนธุรกิจเปรียบได้กับลมหายใจของธุรกิจทุกธุรกิจ

ความตั้งใจของคุณก็ดี Passion ของคุณก็ดีล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่คอยผลักดันให้คุณก้าวไปข้างหน้า

ถ้าเปรียบ Passion เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และธุรกิจที่คุณสร้างคือรถ แผนธุรกิจที่ดีก็คือพวงมาลัยที่มาพร้อม GPS นั่นเอง

2. ไม่ให้ความสำคัญกับการทำการตลาด

ใครก็ตามที่วางแผนการทำธุรกิจก่อนวางกลยุทธ์ทางการตลาด… ผมขอแนะนำให้ถอยหลังก่อนสักก้าวหนึ่งดีกว่าครับ

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม ก่อนหน้านี้ผมเคยวิ่งหนีเรื่องการตลาดมาตลอด ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจเอาเสียเลย

แต่เมื่อลองทำการตลาดแบบงูๆปลาๆอย่างจริงจัง ผลลัพธ์ที่ได้มันน่าชื่นใจกว่ามากๆ

หลังจากนั้นก่อนที่ผมจะวางแผนทำธุรกิจอะไรก็ตาม ผมจะนั่งวางกลยุทธ์ทางการตลาดก่อนเสมอ

ถ้าการตลาดดูไม่มีหวัง ผมจะไม่ลงมือทำธุรกิจเด็ดขาด

ทุกวันนี้เวลาที่ผมออกไป Coach ให้ลูกค้า มันน่าแปลกใจมากตรงที่ลูกค้าที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจเกือบทุกคน

มีแต่สินค้า มีแต่ Passion แต่ยังไม่มีคนซื้อและไม่รู้จะหาคนซื้อที่ไหน…

Passion เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่อย่าตามกระแสมากนัก วางแผน Profit ด้วย

3. วางแผนแบบใจปลาซิว

ปัญหาของเจ้าของธุรกิจทั้งโลกคือ บางครั้งหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว และออกห่างความท้าทายทางธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้น

ถ้าคุณอยากก้าวหน้า อยากประสบความสำเร็จ คุณหนีไม่พ้นจุดที่ต้องเสี่ยงแน่นอน

แต่ถ้าคุณมีการวางแผนมาแล้ว และธุรกิจที่คุณเห็นในหัวนั้นใหญ่กว่าอุปสรรคที่อยู่ตรงหน้า คุณจะไม่ถอยแน่นอน

ถ้าวันนี้คุณเริ่มต้นทำอะไรที่ได้ผลลัพธ์ มีกำไร แน่นอนเลยว่าคุณกำลังจะมีคู่แข่ง คุณไม่ต้องกลัวหรอกครับ

Paul Graham นักลงทุน และผู้ก่อตั้งศูนย์บ่มเพาะ Startup ชื่อ Y Combinator กล่าวไว้ว่า

“วิธีเดียวที่คุณสามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันได้คือ การไม่ยอมคว้าไอเดียและโอกาสดีๆ”

4. ยึดติดกับไอเดียของตัวเองมากเกินไป

บางครั้งทุกอย่างก็ไม่เป็นไปตามแผน บริษัทของคุณอาจต้องการการเปลี่ยนทิศทางบ้าง และเป็นหน้าที่ของคุณในฐานะเจ้าของที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มใจ

การมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวแปลว่า ไม่ว่าคุณจะรักไอเดียของตัวเองมากแค่ไหน คุณพร้อมจะเปลี่ยนแปลงเสมอ เมื่อโอกาสอำนวย

การเปลี่ยนทิศทางที่ผมพูด ไม่ได้แปลว่าเปลี่ยนเพื่อหนีตายอย่างเดียวนะครับ บางครั้งมันคือการคว้าโอกาสทองที่ตลาดกำลังหยิบยื่นให้ในช่วงเวลาหนึ่ง

ในฐานะเจ้าของธุรกิจและ Startup คุณต้องเตรียมพร้อมที่จะถามตัวเองอยู่เสมอๆว่า คุณกำลังขายอะไรอยู่ตอนนี้ และคุณมีทางออกที่ถูกต้องสำหรับปัญหาของลูกค้า ณ ตอนนั้นหรือเปล่า?

5. คิดไปเองว่าชาวบ้านจะอินกับ Passion ของเรา

ไม่ว่าคุณจะกำลังโน้มน้าวผู้ถือหุ้น, ให้กำลังใจลูกน้อง หรือขายสินค้าของคุณอยู่ ขอให้เอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย เพราะไม่ใช่ทุกคนจะอินกับ Passion ของคุณถึงขนาดต้องเห็นด้วยกับคุณทุกอย่าง ดังนั้นอย่าเสียกำลังใจกับคำตอบที่ได้รับ

ข้อนี้เป็นข้อที่ผมเองพลาดบ่อยมากๆ ทุกวันนี้ก็ยังพลาดอยู่

Passion ของผมในฐานะนักการตลาดคือ การสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่น่าพอใจให้ลูกค้า บ่อยครั้งที่ผมมีความเห็นไม่ตรงกับลูกค้าเพราะผมคิดว่าเขาน่าจะทำเงินได้มากกว่านี้ แต่ลูกค้ามีความสุขแล้วกับผลลัพธ์เพียงเท่านี้

6. เมินเฉยต่อคำวิจารณ์

ข้อนี้เป็นข้อที่เจ้าของธุรกิจแนวโลกสวยรับไม่ได้อย่างยิ่ง

ในฐานะนักการตลาด บางครั้งงานของผมบังคับให้ต้องบอกกับเจ้าของธุรกิจในสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการที่จะได้ยินแม้แต่น้อย เช่น พวกเขากำลังทำตลาดกับลูกค้าผิดกลุ่ม หรือช่องทางการตลาดของคุณไม่ได้ผล หรือโฆษณาของคุณต้องเปลี่ยนแนวทาง หรือวิธีที่คุณไปเข้าคอร์สแพงๆเรียนมามันใช้กับธุรกิจของคุณไม่ได้

ภาวะอ่อนแอต่อคำวิจารณ์คือ มหันตภัยของเจ้าของธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นทุกคน

7. ทุบหม้อข้าว ทุ่มสุดตัว แล้วลุย!!

โอเคครับ ผมไม่เถียงหรอกว่า ทุกอย่างในโลกนี้บอกคุณมาตลอดว่าคนที่ประสบความสำเร็จเกือบทุกคนมีชีวิตที่สุดแสนจะรันทดมาก่อน บางคนยากจนไม่มีอันจะกิน บางคนใช้เงินสลึงสุดท้ายพลิกชีวิตอย่างกับโกโก้ครันช์ แต่มันก็ไม่ได้แปลว่าเราต้องเอาตัวเข้าไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นนะครับ

เรื่องนี้ผมเคยฟังคุณกรณ์ จาติกวณิชพูดครั้งหนึ่ง เขาบอกว่าตั้งแต่อยู่ในแวดวงทำงานมา ตัวเขาเองไม่เคยเห็นคนไหนลำบาก รันทด ยากแค้นในการทำธุรกิจเลย เขาเคยเห็นแต่ทำแล้วเจ๊งเลย หรือไม่ก็ทำแบบมีการวางแผนมาอย่างดี ถ้าแผนเอไม่ได้ ก็ใช้แผนบี ถ้าแผนบีไม่ได้ ก็ใช้แผนซี

เพราะงั้น ชีวิตจริงอาจต่างจากบทความดราม่านะครับ…

เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก (Small Business Owner) หลายต่อหลายคน บางครั้งเมื่อมาถึงจุดที่ต้องลงทุนทางธุรกิจก็ใจถึงจนบางครั้งต้องอดมื้อกินมื้อ ด้วยเหตุผลที่ว่า ไหนๆกูก็อดหลับอดนอน ยอมทิ้งโอกาส ยอมออกจากงานแล้ว ลงทุนมันไปเต็มที่เลยละกัน!!

ผมอยากจะบอกว่า มันมีวิธีที่ดีกว่านั้นครับ

อย่าลืมว่า ทุกธุรกิจที่คุณริเริ่มขึ้นมา คุณต้องการให้ธุรกิจนั้นทำงาน และทำเงินให้คุณ

ดังนั้นตัวเจ้าของเองก็ต้องเลี้ยงตัวเองด้วย ไม่ใช่เอาทุกอย่างไปเลี้ยงบริษัท

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ให้เงินเดือนตัวเองเถอะ Enjoy ชีวิตบ้างไม่ผิดกฏหมายนะ

สรุป

ทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่, คนที่อยากเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง และ Startup ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งนะครับ โดยส่วนตัวแล้วตอนที่ผมเริ่มต้นผมพลาดมันทุกข้อเลย และอินกับกระแสทำตาม Passion พอสมควร แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไปตั้งแต่ผมวางแผนกลยุทธ์การตลาดก่อนที่ผมจะวางแผนธุรกิจ

แต่ก่อนผมเป็นประเภทไม่กล้าคุยเรื่องเงิน ใครพูดเรื่องเงินจะเริ่มอึดอัดเพราะจิตใต้สำนึกมันคอยกระซิบว่า “พูดเรื่องเงินเยอะๆเดี๋ยวจะเสีย Connection เดี๋ยวคนอื่นจะหาว่าหน้าเงิน…”

ผลลัพธ์ก็คือ พอไม่พูดเรื่องเงิน มันเริ่มเสียงาน เสียโอกาส และเสียกำลังใจในการทำงานครับ ที่สำคัญไม่ได้เสียแค่ตัวผมเอง แต่เสียไปถึงคนที่ผมทำธุรกิจด้วย สุดท้ายก็เสีย Connection อยู่ดี…

ทุกวันนี้ก่อนเริ่มธุรกิจอะไร กลยุทธ์ทางการตลาดต้องชัดเจน งบประมาณต้องชัดเจน ไม่งั้นเหนื่อยแน่นอนครับ

อ่านจบแล้ว โดนข้อไหน Comment ด้วยนะครับ

 

OHMPIANG

เจษ

 

ปล. หนังสือที่เปลี่ยนชีวิตผมไปเลยคือ Scientific Advertising

>>คลิกเพื่อสั่งซื้อ<<


แชร์ให้คนที่คุณรัก:


{"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}
>