fbpx

หวังว่าจะสนุกกับบทความหรือ Podcast ตอนนี้นะครับ ถ้าชอบฟังหนังสือเสียงที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา และพลังงาน คลิกที่นี่ เพื่อ Download แอป OHMPIANG ได้เลยครับ


3 ขั้นตอนสู่การทำ Content ที่น่าสนใจมากขึ้น น่ารำคาญน้อยลง

  • Home
  • /
  • Podcast
  • /
  • Copywriting
  • /
  • 3 ขั้นตอนสู่การทำ Content ที่น่าสนใจมากขึ้น น่ารำคาญน้อยลง

เคยอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ไหมครับ? นั่งอยู่ในวงสนทนาที่วนอยู่กับที่ไม่ไปไหน หรือไม่รู้ว่าที่คุยๆอยู่เนี่ย ต้องการอะไรในชีวิต

ตอนแรกมันก็ยังโอเคอยู่บ้าง (ความเกรงใจ + ให้โอกาสมันอีกหน่อย) แต่พอเริ่มออกทะเลไปเรื่อยๆ เริ่มไม่เกี่ยวกับชีวิตท่านมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มจะฟังแล้วสูญเสียพลังชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ

มากจนท่านเริ่มจะนั่งภาวนาขอให้มีโทรศัพท์สำคัญเข้ามา (หรือโทรศัพท์ไม่สำคัญแต่ท่านทำให้มันสำคัญได้)

คงจะพอเห็นภาพเนอะ… มันน่าเบื่ออ่ะ โคตรน่าเบื่อเลยสถานการณ์ประเภทนั้น น่าเบื่อไม่พอ บ่อยครั้งที่มันน่ารำคาญด้วย และที่สำคัญตัวต้นเหตุมักจะไม่ค่อยรู้ตัวด้วย

เพราะฉะนั้นเวลาที่ท่านทำ Content ไม่ว่าจะลงสื่อไหนก็ตาม พยายามอย่าทำ Content ให้กลุ่มเป้าหมายตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นนะครับ เพราะเขาจะไม่ทนกัน

งาน Copywriting ของผมในฐานะ Direct Response Copywriter ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำ Content ทั่วๆไปโดยตรง แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง Comment เกี่ยวกับ Content ของลูกค้า

ซึ่งผมบอกได้เลยว่า เกิน 99% ทำออกมาได้ดีมากๆอยู่แล้ว ในแง่ของ Production ไม่ว่าจะแนวการเขียน, รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ

ผมสามารถตอบได้เลยโดยไม่รู้จักกันว่า “ท่านทำได้ดีมากๆอยู่แล้ว” เชื่อผมสิ เพราะงั้นไม่ต้องห่วงตรงนั้นเลย

สิ่งที่น่าห่วงรู้ไหมคืออะไร?

สิ่งที่น่าห่วงมากๆเลยคือ “ทำไปเพื่ออะไร?”

ผมเจอบ่อยที่สุดละ เขียนดี ทำดี ทุกอย่างดีหมดตามตำราที่สอนๆกันเป๊ะ อ่านจบปุ๊บ คำถามแรกคือ… จะสื่ออะไรอ่ะครับ?

มันเป็นคำถามที่ทำให้คนฟังอึดอัดมากๆเลย และเกือบทุกครั้งคนที่โดนคำถามนี้เข้าไปจะทำหน้าแบบเดียวกัน

ประเด็นคือ การสร้าง Content แบบไม่มีจุดมุ่งหมายนั้นเสียเวลาของตัวท่านเอง และที่แย่ไปกว่านั้นมันเสียเวลาของกลุ่มเป้าหมายของท่าน

กลุ่มเป้าหมายของท่านต้องการอะไรที่มีประโยชน์ ไม่เวิ่นเว้อ และตรงประเด็น

และบทความนี้ก็จะมาช่วยไกด์ให้ท่านทำได้แบบที่กลุ่มเป้าหมายของท่านต้องการ

ขั้นที่ 1 : คุยกับตัวเองสักนิดก่อนคิดจะทำอะไร

ตามหลักแล้วก่อนที่จะเริ่มเขียนหรือทำอะไรก็ตามเกี่ยวกับ Content ท่านควรจะถามตัวเองด้วยคำถาม 2 ข้อ

ข้อแรก… ท่านต้องการอะไรจาก Content นี้?

ข้อสอง… อะไรคือสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายของท่านจะได้รับจาก Content นี้?

สิ่งที่จะได้รับจากการทำ Content ดีๆมีเยอะมาก ตั้งแต่ Branding ยันยอดขายที่มาเยอะๆ และมาเรื่อยๆ แต่มันจะไม่เกิดขึ้นด้วยการหวังพึ่ง Content เพียงชิ้นเดียวที่ทำขึ้นมาเพื่อตอบทุกโจทย์ (แต่มันไม่มีในโลกไง Content แบบนั้นอะ)

ท่านต้องเลือกมาสักอย่างว่าต้องการอะไรจาก Content ที่กำลังทำอยู่ จะได้ไม่สับสนทั้งคนทำและกลุ่มเป้าหมาย

และเหนือสิ่งอื่นใด เหนือกว่าความต้องการของท่านคือ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

ท่านต้องตอบให้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของท่านจะได้รับอะไรจาก Content ที่ท่านจะทำ

ขั้นที่ 2 : ก็แค่เขียน และเขียนให้มนุษย์ทั่วไปอ่าน ไม่ใช่เขียนเอารางวัลซีไรท์

หลังจากตอบคำถาม 2 ข้อเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาลงมือทำในแบบที่ท่านถนัด

แต่จากประสบการณ์ของผม เมื่อในใจของท่านมีคำตอบที่สำคัญ 2 ข้อเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างจะราบรื่นด้วยตัวของมันเอง

คำแนะนำของผมก็คือ ทำไปตามสัญชาติญาณ นึกอยากเขียนอะไรก็เขียนลงไป ไม่ต้องไปคิดมาก ไม่ต้องไปกลัวยาวเกินไป

มีอะไรผุดขึ้นมาในหัวก็เขียนลงไป

สิ่งที่ต้องทำก็คือ เขียน…

สิ่งที่ไม่ต้องทำคือ คิด…

ใช่ครับ มันดูขัดๆกัน แต่ Content ที่ดีและมีประสิทธิภาพส่วนใหญ่ก็เป็น Content ที่มาตามธรรมชาติ

ถ้าจะให้บอกว่ามันคือ Content ที่มาตอนที่ใจรู้ว่าต้องการอะไรอย่างชัดเจนแล้วก็ว่าได้

มันมีช่วงเวลานั้นจริงๆ แต่อาจจะต้องอาศัยการฝึกฝนสักหน่อย

ยิ่งเขียนบ่อย ยิ่งฝึกฝนบ่อยๆ ท่านจะคล่องขึ้น เขียนได้เร็วขึ้น และเริ่มคิดน้อยลง

ซึ่งบ่อยครั้งการเขียนตามใจชอบแบบมีคำตอบ 2 ข้อในใจแบบไม่ต้องไปกังวลอะไรมาก จะได้ผลลัพธ์ที่ทำให้ท่านประหลาดใจ

ขั้นที่ 3 : ปล่อยให้ Content หายใจ เหมือนไวน์ที่เพิ่งเปิดใหม่ๆ

ถ้าท่านเคยสั่งไวน์มาดื่มตอนไปร้านอาหาร ท่านอาจจะเคยสังเกตว่าตอนเปิดขวด บริกรที่มีประสบการณ์จะไม่รีบเปิดแล้วเททันที เขาจะพักไวน์ไว้ระยะเวลาหนึ่งจากนั้นค่อยเทออกมาให้ชิม

ผมเคยถามผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ (เพราะผมไม่ใช่) เขาบอกว่า มันเป็นกระบวนการที่ทำให้ไวน์ได้ “หายใจ”

Content ของท่านก็เช่นกัน ให้มันหายใจบ้างก่อนที่จะส่งมันไปทำหน้าที่

การให้ Content ของท่านหายใจ ไม่ได้แปลว่าจะทำให้มันมีคุณภาพสูงขึ้นด้วยตัวมันเอง แต่มันจะช่วยให้ท่านเองนั่นแหละได้ทบทวนอะไรบางอย่างอีกครั้งหนึ่ง

ระยะเวลาที่ดีที่สุดที่จะปล่อยให้ Content หายใจคือ 24 ชั่วโมง

จากประสบการณ์แล้ว ภายใน 24 ชั่วโมงที่ใจท่านไม่ได้จดจ่อกับ Content นี้ จะช่วยให้ท่านมีไอเดียใหม่ๆบางอย่างเกิดขึ้น

มันจะเป็นอะไรที่ท่านมองไม่เห็นมาก่อน และผมบอกได้เลยว่า ของดีจะอยู่ตรงนี้แหละ

แต่ทั้งหมดทั้งสิ้น ก่อนที่จะโพสท์หรือเผยแพร่ Content ผมอยากให้กลับไปที่คำถาม 2 ข้อนั้น

ข้อแรก… ท่านต้องการอะไรจาก Content นี้?

ข้อสอง… อะไรคือสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายของท่านจะได้รับจาก Content นี้?

และเมื่อไหร่ก็ตามที่คำตอบชัดเจน โอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะรำคาญ Content ของท่าน แทบจะไม่มีเลย

ที่สำคัญท่านจะได้รับผลลัพธ์ที่ท่านต้องการ

ทีนี้ถ้าท่านกำลังประสบปัญหาค่า Ad แพง Content ทำไปก็ไม่มีคนสนใจ

หรือที่เจ็บช้ำยิ่งกว่าคือ

ทำไปแล้ว Viral แล้ว คนแชร์เยอะมากมาย แต่ยอดเงินกลับไม่กระดิกตามยอดแชร์

ท่านไม่ได้เจอกับปัญหานี้คนเดียวครับ

ผมแนะนำให้เริ่มต้นเปลี่ยน Mindset จากเขียน Content เป็นเขียน Copywriting แทน

ท่านสามารถเริ่มต้นแบบง่ายๆด้วยการ ฟัง Podcast ตอนพิเศษของผม

## ปฐมบท Direct Marketing และ Copywriting สำหรับเจ้าของธุรกิจ ##

หรือถ้าอยากข้ามขั้นไป Advance เลยด้วยหนังสือ Intensive Copywriting ผมก็ยินดี

ท่านสามารถดูรายละเอียดได้ที่ >> หนังสือ Copywriting : Intensive Copywriting

แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ

OHMPIANG

เจษ

ปล.​ เราเป็นเพื่อนกันหรือยัง? ถ้าอยากดูแนวทางการเขียน Copywriting ที่ได้ผลลัพธ์จริงๆ แอดเพื่อนผมที่ Jesse OHMPIANG Jesada แล้ว Inbox บอกผมหน่อยว่า “ตามมาจากเวบไซต์”


แชร์ให้คนที่คุณรัก:


  • ชอบ Ep 005
    ด้วยการตั้งคำถามที่ถูกต้อง
    การเขียนคอนเทนต์จะดีต่อทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน
    ส่วนการทิ้งคอนเทนต์ไว้ 24 ชั่วโมง
    ผมเห็นด้วยเลยครับ
    เพราะมักจะมีไอเดียสำคัญเล็กๆ น้อยๆ ผุดมาจากช่วงที่พักคอนเทนต์ไว้ครับ

  • ขอบคุณสำหรับการขยายความในข้อคุยกับตัวเองและเขียนแบบใช้สัญชาตญาณ
    สั่งซื้อหนังสือไม่ทันจะมีอีเมื่อไรคะ

  • {"email":"Email address invalid","url":"Website address invalid","required":"Required field missing"}
    >